วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


การสื่อสารเพื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอน

         โลกปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล เปรียบเสมือนโลกเป็นหมู่บ้านเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งที่คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วทั่วถึงภายในพริบตา เทคโนโลยีการศึกษาจำเป็นต้องทราบถึงโทรคมนาคมเพื่อนำมาใช่ในการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาทางไกลที่ต้องใช้เทคโนโลยีและระบบการสื่อสารโทรคมนาคมช่วยในการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆ

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนศักยะภายและสมรรถนะการทำงานในทุกวงการเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในในการศึกษาจะเรียกว่าเทคโนโลยีการศึกษาโดยเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยลักษณะต่างๆของการสื่อสารผู้สอนสามารถนำการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ ทำให้สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล หรือในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน
ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบ วิธีการ ประเภท และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน

การสื่อสารในห้องเรียน
       ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม ได้แก่
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
ตัวอย่าง เช่น การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
        เช่นการเรียนในห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่งสามารถเรียนร่วมกับผู้เรียนในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นที่มีผู้สอนสดและส่งการสอนนั้นมาเพื่อเรียนร่วมกันได้
การสื่อสารในการศึกษาทางไกล การศึกษาทางกลเป็นการเรียนการสอนและผู้เรียนถึงแม้จะไม่อยู่ในที่เดียวกันแต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรคมนาคมซึ่งเป็นการสื่อสารระยะไกล การเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ ตาความสะดวกของแต่ละคน และสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ละสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสารประกอบการเรียน เทปเสียง แผ่นวีซีดี รายการวิทยุ โทรทัศน์การสอน เป็นต้น
การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
      เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ของวิชา ส่งการบ้านหรือถามคำถามทางอีเมล์ไปยังผู้สอนสอน หรือติดคำถามบนเว็บบอร์ดเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ

การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
         เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนล็อกออนเข้าเข้าเรียนในเวลาที่ผู้สอนกำหนด ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสมารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ทันที หรืออาจเป็นการเรียนแต่มีการนัดหมายเวลาเพื่อสนทนาสดด้วยเสียงแบบเห็นหน้ากันหรือพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้

ความหมายขอของโทรคมนาคม
      โทรคมนาคม เป็นการส่งข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ และเสียง โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการติดต่อสื่อสารจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แปลงข้อมูลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าให้ไหลไปตามตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ เช่น สายเคเบิลทองแดง เคเบิลเส้นใยนำแสง หรือโดยใช้ตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สาย เข่น คลื่นวิทยุแบบแพร่สัญญาณ คลื่นไมโครเวฟ การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม แสงอินฟราเรด โดยที่จุดส่งกับจุดรับจะอยู่ห่างไกลกัน และเรื่องราวที่ส่งจะเฉพาะเจาะจงถึงผู้รับคนใดคนหนึ่งหรือผู้รับทั่วไปก็ได้ เช่น รับฟังเสียงทางโทรศัพท์ ดูรายการโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียมมายังจานรับสัญญาณ เป็นต้น

การสื่อสารโทรคมนาคม
       ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมมีการทำงานโดยเริ่มขึ้นเมื่อข้อมูลถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณนั้นถูกส่งผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังเครื่องรับ และเครื่องรับถอดรหัสหรือแปลงสัญญาณกลับมาเป็นรูปแบบที่ผู้รับข้อมูลนั้นเข้าใจได้


องค์ประกอบของการสื่อสารโทรคมนาคม
      การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นการสื่อสารระยะไกลที่ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ ตัวส่งผ่านหรือพาหะ ช่องทางโทรคมนาคม และอุปกรณ์สื่อสาร
- ตัวส่งผ่านและพาหะ
เพื่อนำข่าวสารไปถึงกันโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น คลื่นพาห์ช่วยนำสัญญาณไฟฟ้าแพร่กระจายไปไนบรรยากาศไปยังเครื่องรับได้โดยสะดวก
ช่องทางโทรคมนาคม
       ช่องทางโทรคมนาคม หมายถึง ทาง หรือตัวกลางสื่อสัญญาณ ที่ข้อมูลสารสนเทศใช้เดินทางเพื่อการสื่อสารในระบบโทรคมนาคมจากแหล่งส่งไปยังจุดรับ โดยช่องทางนี้จะเป็นตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ หรือตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สายก็ได้


อุปกรณ์สื่อสาร
        อุปกรณ์สื่อสาร หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างจุดส่งและจุดรับ โดยที่แต่ละจุดจะต้องมีเครื่องมือสื่อสารซึ่งมีทั้งเครื่องรับอยู่ภายในเครื่องเดียวกัน
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
พื้นฐานของช่องทางโทรคมนาคม-ทั้งด้วยการใช้ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพหรือแบบไร้สายก็ตาม จะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์ คลื่นเรดาร์ หรือการเปิดปิดประตูหน้าบ้านด้วยรีโมตคอนโทรล เหล่านี้เรียกว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งสิ้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ประกอบด้วยสนามพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแม่เหล็กซึ่งเดินทางเป็นคลื่น ท่ามกลางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็น คลื่นพาห์ ช่วยนำสัญญาณในการสื่อสารคลื่นแบบต่างๆ ที่ใช้สื่อสารจะมีความแตกต่างกันแล้วแต่ความถี่ นับตั้งแต่พิสัยของคลื่นวิทยุจากคลื่นความถี่ต่ำ พิสัยของความถี่เหล่านี้เรียกว่า แถบความถี่ หรือเรียกทัพศัพท์ว่า แบนด์วิดท์ แบนด์วิดท์ในการส่งสัญญาณอนาล็อกจะเรียกเป็น เฮิตซ์ หรือรอบต่อวินาที หากเป็นการส่งสัญญาณแบบดิจิทอัลเรียกเป็น บิทต่อวินาทีแบนด์วิดท์ จะมีความแตกต่างกันระหว่างความถี่สูงกับความถี่ต่ำในการส่ง ยิ่งแบนด์วิดท์มากเท่าไหร่จะช่วยส่งข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น และหากใช้แบนด์วิดท์แคบจะทำให้สูญเสียพลังในการส่งมากขึ้นเช่นกัน จึงต้องชดเชิญการสูญเสียพลังด้วยการใช้การหน่วงหรือการทวนสัญญาณเพื่อทำซ้ำสัญญาณเดิม แบนด์วิดท์จะระบุกันด้วยความเร็วหรือการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ย่อมต้องใช้แบนด์วิดท์กว้างที่เรียกว่า บรอดแบนด์ ที่ส่งผ่านข้อมูลได้ตั้งแต่ 1.544-55เมกกะบิตต่อวินาที ตัวกลางสื่อสัญญาณ ในการส่งผ่านซึ่งเป็นวัสดุเทคนิควิธีการที่ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ ตัวกลางสื่อสัญญาณมี 2 ลักษณะ คือ ตัวกลางที่เป็นสื่อทางกายภาพ และสื่อไร้สาย

ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ
         เป็นการใช้สายเคเบิลและวัสดุอื่นๆ ในการส่งสัญญาณ ตัวกลางสื่อสัญญาณที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ สายโทรศัพท์ซึ่งทำด้วยรวดทองแดง แต่ในปัจจุบันมีการใช้วัสดุอื่นที่ส่งสัญญาณผ่านได้เร็วขึ้น ได้แก่สายเคเบิลคู่ไขว้สายเคเบิลคู่ไขว้ เป็นสายที่ใช้กันทั่วไปในเครือค่ายและระบบโทรศัพท์ สายรวดพวกนี้ประกอบด้วยทองแดง2เส้น ไขว้พันกันเหมือนหางเปียแต่ละคู่อาจมีคู่เดียวหรือหลายคู่ก็ได้ สายนี้มีความเร็วในการส่ง 1-128 เมกะบิตต่อวินาทีสายเคเบิลร่วมแกน มักเรียกกันย่อๆว่า สายแอ็กซ์ ประกอบด้วยลวดทองแดงเดี่ยวเป็นแกนเดี่ยวเป็นแกนตัวนำและพันรอบด้วยวัสดุ3ชั้น คือ วัสดุกันฉนวน ลวดทองแดงมัดพันเกลียวกันตั้งแต่2ชั้น และปลอกพลาสติกหุ้มลวด มีความเร็วในการส่งสัญญาณได้สูงถึง 200 เมกะบิทต่อวินาทีสายเคเบิ้ลเส้นใยแก้วนำแสงสายเคเบิ้ลเส้นใยแก้วนำแสง มีความเร็วในการส่งตั้งแต่ 100 เมกะบิตถึง 204 จิกะบิตต่อวินาทีมีข้อได้เปรียบกว่าสายเคเบิล คือ
มีความสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก และส่งได้มากกว่า รวดเร็ว และไกลกว่า
ป้องกันการลบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
มีขนาดเล็กและเบากว่า
ไม่เป็นสนิม
ติดตั้งง่ายเข้าได้ทุกที่
วัตถุดิบในการผลิตมีอยู่มากในธรรมชาติ
มีข้อจำกัดคือ
มีความเปราะ แตกหักง่ายกว่าสายโลหะธรรมดา
ต้องมีการเชื่อมที่มีความถูกต้องแน่นอน
ยากต่อการแยกสัญญาณ
ใช้ส่งกำลังงานไฟฟ้าสำหรับเลี้ยงระบบต่างๆไม่ได้


ระบบการสื่อสารและการเรียนการสอน
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่